new tags

‘เกือบทั้งชีวิตที่เราได้อยู่ด้วยกัน’ ความในพระทัย “เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา” ทรงเขียนถึง “คุณทิพย์ฯ” พระพี่เลี้ยง ครั้นจากไปไม่มีวันกลับ

22 ตุลาคม 2022 | Slide
Loading...

เป็นบทความที่สุดซาบซึ้งจากความในพระทัย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ได้ทางเพจ รักสยาม หนังสือเก่า รับซื้อขายหนังสือเก่า หนังสือสะสม หนังสือโบราณ  ได้โพสต์เผยแพร่เอาไว้…

Loading...

“เกือบตลอดชีวิตของเราที่ได้อยูด้วยกันมา ได้สร้างความรู้สึก ความผูกพันมากเกินกว่าที่จะสามารถกล่าวออกมาเป็นคำพูดใด ๆ ได้ เราอยากให้ทิพย์รับรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมาช่างมีค่าเหลือเกินสำหรับเราสิ่งที่ทิพย์ให้ ที่ปลูกฝัง ทุกอย่างได้ประกอบขึ้นมาเป็นตัวเราในวันนี้จะคงอยู่ตลอดไป และจะไม่มีวันลืมเลือนบอกได้คำเดียวว่า รักเสมอตลอดไป”

ข้อความที่ยกมาข้างต้น เป็นความในพระทัยของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ที่ทรงมีแด่ คุณชลทิพย์ สีใส หรือที่ทรงตรัสเรียกว่า “ทิพย์” มีปรากฏในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หากดูภายนอกหนังสือเล่มนี้อาจเหมือนหนังสืออนุสรณ์ทั่วไป แต่เมื่อเปิดดูเนื้อหาภายใน ตั้งแต่หน้าแรก คำไว้อาลัยของบุคคลใกล้ชิด

Loading...

เรื่องเล่าจากผู้ที่คุ้นเคยกับผู้วายชนม์ รวมถึงภาพประกอบภายในเล่มที่ได้ถ่ายรูปร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทิดนัดดามาตุ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในขณะที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์ ท่านผู้นี้มีความสำคัญอย่างไร และเมื่ออ่านคำไว้อาลัยของทั้งสองพระองค์แล้ว

เชื่อว่าหากใครได้อ่านแล้วคงมีความซาบซึ้งในความรักความผูกพันที่ทั้งสองพระองค์มีให้กับคุณทิพย์ฯ พระพี่เลี้ยง ที่คอยอภิบาล พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และต่อมารับหน้าที่เป็นพยาบาลประจำพระองค์ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทิดนัดดามาตุ ผมอดใจไม่ไหวอยากแบ่งปันความซาบซึ้งนี้ให้ทุกท่านรับทราบ ดังเรื่องที่จะเล่าดังต่อไปนี้

Loading...

สำหรับ เรื่องของพระพี่เลี้ยงนั้น ตามธรรมดาโบราณาราชประเพณี เมื่อมีการประสูติแล้ว ก็ต้องเตรียมพระนมกับพระพี่เลี้ยง ด้วยเป็นโบราณราชประเพณีอีกอย่างหึ่ง เพราะแต่ก่อนเรามิได้ใช้วิธีเลี้ยงเด็กอย่างสมัยนี้ คือ ให้เลี้ยงด้วยทางวิทยาศาสตร์ เช่น น้ำนมวัว นมแพะ แป้งนมต่าง ๆ เป็นต้น

ฉะนั้นจะต้องใช้คนเป็นแม่นม เป็นพี่เลี้ยง เรียกว่าพี่เลี้ยงนางนม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นพระนมนั้น ต้องคัดเลือกจากผู้ที่มีตระกูลซึ่งมีลูกอ่อนในระยะเวลาเดียวกันกับพระบรมราชโอรสหรือพระราชธิดา



และต้องมีการตรวจน้ำนมตามวิธีของแพทย์แผนโบราณ เช่น กอกน้ำนมออกมาหยดลงในน้ำ เพื่อดูความเข้มข้นหรือจืดจาง เป็นต้น คือถ้าละลายปนไปกับน้ำเร็วก็แปลว่าจืดจาง ถ้าลงนอนเป็นตะกอนข้นเป็นใช้ได้เป็นต้น และต้องสืบประวัติว่ามิได้เคยมีโรคประจำตัวอย่างใดๆ

เช่นเป็นโรคเรื้อรัง ชนิดวัณโรค โรคลมบ้าหมู เป็นต้น ตลอดจนอุปนิสัยใจคอ เมื่อผู้ใดได้รับการคัดเลือกเรียบร้อย โดยเฉพาะสามีก็ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นข้าใช้ใกล้ชิดใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วก็จัดเข้าถวายตัวรับราชการสนองพระเดชพระคุณ พระพี่เลี้ยงก็เช่นกัน แต่พระพี่เลี้ยงเป็นได้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย

พระนมที่จะกล่าวถึง เป็นผู้ที่ได้รับยกย่องอย่างสูงสุดในช่วง รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว คือคุณพระนมทัด พึ่งบุญ มารดาท่านเจ้าพระยารามราฆพ และพระยาอนิรุทธเทวา ท่านเป็นภรรยา พระยาสิทธิศุภการ พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายที่ทรงพระเจริญเติบโตขึ้น มักจะทรงระลึกถึงพระคุณของพระพี่เลี้ยง และพระราชทานหรือประทานพระมหาอุปการะคุณตอบสนองเป็นอย่างดียิ่ง

จัดเป็นกตัญญุกตเวทิตาธรรมอย่างสูง พระพี่เลี้ยงก็เช่นกัน ต้องคัดเลือกผู้ที่เป็นหลักผู้ใหญ่ผู้ดีมีตระกูล มีนิสัยรักเด็ก หน้าที่พระพี่เลี้ยงก็คล้าย ๆ พยาบาล ใช้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย นอกจากอุ้มชูประคับประคองถวายการปฏิบัติแล้ว ก็สำหรับเชิญเสด็จคืออุ้มเวลาจะเสด็จไปไหนมาไหนด้วยโบราณถือว่าการอุ้มหรือการเชิญเป็นเกียรติอย่างสูง นี่ก็เป็นราชประเพณีอย่างหนึ่ง ซึ่งจะขอนำมาสอดแทรกในเรื่องนี้

คุณชลทิพย์ สีใส ซึ่งต่อไปขอเรียกว่า คุณทิพย์ เดิมชื่อพรทิพย์ ภูวิวัฒน์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2493 ที่อำเภอบ้านโป่ง จัหวัดราชบุรี เป็นบุตรสาวของ นายวีระ ภูริวัฒน์ และ นางสำลี ภูริวัฒน์ มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน สมรสกับ พ.ต.อ.มนต์ชัย สีใส (ไม่มีบุตร)

ได้รับการศึกษาระดับอนุปริญญาพยาบาลและอนามัย วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นักเรียนทุนสภากาชาดไทย ปี 2512 – 2515 ประกาศนียบัตรผดุงครรภ์ และอนามัย วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยและสำเร็จปริญาตรี ศึกษาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คุณทิพย์ฯ รับราชการ ในหน้าที่ พยาบาลประจำการ แผนกสูติกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516-2520 ต่อมาเมื่อ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทิดนัดดามาตุ มีพระประสูติกาล พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ถวายงานเป็นพี่เลี้ยงถวายอภิบาล พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตในครั้ง มีผู้ที่ถวายงานเป็นพระพี่เลี้ยงร่วมอยู่ด้วยอีก 2 ท่าน คือ คุณระกา นาคะชาต และ คุณจำลอง แวววานิช และต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้ทำหน้าที่ถวายงานในตำแหน่ง พยาบาลประจำพระองค์ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทิดนัดดามาตุ

คุณทิพย์ฯ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ซื้อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทน และสิ่งสำคัญยิ่งที่สุดในชีวิตที่จะขาดเสียมิได้คือ “ความจงรักภักดี” จากความใฝ่ฝันที่อยากเป็นครู แต่สอบไม่ติดทำให้เธอเบนเข็มมาเป็นพยาบาล เพราะเรียนจบแล้วมีงานทำเลย

และความที่อยากช่วยเหลือทางบ้านที่ในขณะนั้นฐานะยังไม่ค่อยดี จากพยาบาลปกติและเริ่มเข้ามารับหน้าที่ถวายงานในตำแหน่งพระพี่เลี้ยงนั้นเริ่มขึ้น เมื่อ คณะกรรมการแพทย์เตรียมการประสูติกาล เสด็จพระวรชายา

โดยมีหน้าที่รับช่วงหลังประสูติกาล การคัดเลือกผู้ที่ทำหน้าที่พระพี่เลี้ยงนั้น มีความพิถีพิถันค่อนข้างมาก โดยจะต้องเลือกจากตัวแทนแต่ละตึกที่มีผลงานดี มีความประพฤติเรียบร้อย โดยหัวหน้าตึกแต่ละตึกเป็นผู้คัดเลือก และหัวหน้าพยาบาลเป็นผู้คัดเลือกอีกที

หัวหน้าตึกในขณะนั้นคือ คุณบุญเยี่ยม ผ่องใส หัวหน้าพยาบาลคือ คุณหญิงสมลักษณะ หุตินทะ หลังจากนั้นต้องการผ่านการคัดเลือกจากหัวหน้าฝ่ายอีกครั้ง ในเวลานั้นมีตัวแทนจากแต่ละตึก ตึกนารี ตึกนวมิน และคุณทิพย์ฯ ซึ่งเป็นตัวแทนจากตึกยมราช

ความรู้สึกเริ่มแรกของคุณทิพย์ฯ นั้นมีความกลัว กลัวว่าการเข้าไปอยู่ในวังนั้นจะเป็นอย่างไร และคิดว่าตนเองนั้นจะทำหน้าที่ได้หรือไม่ และจะได้พบเจอกันอะไรบ้าง กลับเข้าไปแล้วจะกลับออกมาอีกได้ไหม นั่นคือความคิดสารพัดของคุณทิพย์ฯที่มความวิตกกังวลไปต่าง ๆ นาๆ

เมื่อเข้าไปรับหน้าที่ในตำแหน่งพระพี่เลี้ยง มีพระพี่เลี้ยงเก่า คุณประเทืองฯ และ คุณอัมพรฯ เป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้ข้อคิด ว่าเป็นเกียรติของวงศ์ตระกูลของเรา เป็นสิ่งที่มีค่าเป็นเกียรติที่โปรดให้มา ทำให้เธอเริ่มเบาใจ และตั้งใจ ทุ่มเท ทั้งกายและใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด

“เมื่อเริ่มเข้ามาอยู่ในพระที่นั่งอัมพรสถาน สักพัก ความกล้วก็เริ่มหายไป สิ่งที่ต้องปรับตัวก็คือสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนเดิมกับโลกภายนอก เพราะเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่จะทำอะไรต้องระวังตัว สำหรับการทำหน้าที่ถวายการอภิบาล พระองค์ภานั้น คือต้องใช้คำว่า “Special” มากกว่าเด็กธรรมดา ๆ ตั้งแต่ความสะอาด ทุกอย่างสุดชีวิตที่เรียนมา มีตำราอะไรต้องควักมาใช้ให้หมด” นั่นคือความรู้สึกของคุณทิพย์ฯ ในขณะที่เริ่มต้นทำหน้าที่พระพี่เลี้ยง

สำหรับหน้าที่หลักของการถวายอภิบาล พระองค์ภา คุณทิพย์ได้เล่าว่า ดูแลเครื่องเสวย พระโอสถ เรื่องพระอักษร สำหรับเรื่องพระโอสถนั้นจะมีหมอค่อยควบคุมอีกที

นอกจากนี้คุณทิพย์ฯ ใช้เวลาที่เหลืออยู่น้อยนิดในการศึกษาต่อที่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จนสำเร็จระดับปริญญา ซึ่งคุณทิพย์ฯ ก็ได้นำความรู้ใหม่ ๆ มาถวายการสอนพระเจ้าหลานเธอฯ บ้าง

คุณทิพย์ฯ ได้รับพระเมตตาจาก ทั้ง พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทิดนัดดามาตุ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มาโดยตลอด ทรงรักและผูกพันกับคุณทิพย์ฯ มาก แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2545 รถขบวนตามเสด็จ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทิดนัดดามาตุ ประสพอุบัติเหตุ ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ทำให้คุณทิพย์ฯ ต้องจากไป ทำให้ทั้งสองพระองค์โทมนัส เป็นที่สุด ดังข้อความในพระทัยพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทิดนัดดามาตุ ในหนังสืออนุสรณ์ คุณทิพย์ฯ

“สิ่งที่ทิพย์เคยดูแลพระองค์ภา และ พระองค์หญิงมาด้วยความรักและความห่วงใย มีน้ำใจที่ดีเสมอมา โดยไม่เคยทอดทิ้งเราสองคนเลย แม้กระทั่งก่อนที่จะจากไปไม่มีวันกลับ จะประทับอยู่ในความทรงจำของพระองค์หญิงและพระองค์ภาตลอดไป”

Loading...





error: